วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ความหมายของการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Photography รากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phos หมายถึง แสงสว่าง Graphein หมายถึง การเขียน รวมกันจึงหมายถึง "การเขียนด้วยแสงสว่าง"

ความหมายของการถ่ายภาพ มี 2 ประเด็น คือ

1. เชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทำปฏิกิริยาระหว่างวัสดุไวแสงกับแสง

2. เชิงศิลปะ หมายถึง การวาดภาพด้วยแสงและเงารวมทั้งการผสมสีเพื่อถ่ายทอดความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ หรือทัศนคติ

สรุป : การถ่ายภาพ คือ การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนคติ โดยใช้กระบวนการที่ปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนมาจากวัตถุผ่านเข้าไปกระทบกับวัตถุไวแสง แล้วจึงนำวัตถุไวแสงไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏ

ประวัติความเป็นมา

หากกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการถ่ายภาพจากอดีตถึงปัจจุบัน เราสามารถสรุปได้ว่าการถ่ายภาพมีวิวัฒนาการมาจากศาสตร์ 2 สาขา คือ ฟิสิกส์ และ เคมี โดยในครั้งแรกสุดเริ่มจากสาขาฟิสิกส์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ

400 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากหลักฐานที่อริสโตเติล บันทึกไว้ว่า ถ้าเราปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆ ในห้องมืดแล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพบนกระดาษ มีลักษณะเป็นภาพจริงหัวกลับ แต่เป็นภาพที่ไม่ชัดเจนนัก จากหลักการจึงได้มีการประดิษฐ์กล้องรูเข็ม และพัฒนาเป็น กล้องออบสคิวรา (Camera Obscura) ซึ่งเป็นภาษาลาติน แปลว่า ห้องมืด

ค.ศ. 1550 – 1573

มีการพัฒนากล้องออบสคิวราให้มีประสิทธิภาพขึ้นโดยการนำเลนส์นูนใส่ในช่องรับแสงเพื่อ ทำให้ภาพสว่างขึ้น มีการประดิษฐ์ม่านบังคับแสง

(Diaphragm) เพิ่มเติมในกล้อง ทำให้ภาพชัดขึ้น และใช้กระจกเว้าเพื่อให้ได้ภาพหัวตั้ง

ค.ศ. 1676

Johann Sturm ประดิษฐ์กล้องรีเฟลกซ์ (Reflex Camera) กล้องแรกของโลก โดยใช้กระจกเงาวางตั้งมุม 45 องศา เพื่อสะท้อนภาพให้สะดวกแก่การมองภาพ

ค.ศ. 1727-1777

ช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสาขาเคมี โดย Johann Heinrich Schulze ชาวเยอรมัน พบว่าสารผสมของชอล์กกับเกลือเงินไนเตรทเมื่อถูกแสงแล้วจะทำให้เกิดภาพสีดำ และ Carl William Scheele ชาวสวีเดน พบว่าแสงสีน้ำเงินและสีม่วงของ positive มีผลทำให้เกลือเงินไนเตรทและเกลือเงินคลอไรด์ เปลี่ยนเป็นสีดำได้มากกว่าแสงสีแดง

ค.ศ. 1826-1840

เป็นช่วงของบุคคลสำคัญ 3 ท่าน คือ

· เนียพซ์ (Niepce) - ผู้ถ่ายภาพ (ถาวร) ภาพแรกของโลก

· ดาแกร์ (Daguerre) - ผู้คิดค้นระบบดาแกร์ไทพ์ ที่ได้รับความนิยมและแพร่หลาย

· ทัลบอท (Talbot) – ผู้คิดค้นระบบถ่ายภาพที่เป็นต้นกำเนิดของระบบฟิล์มในปัจจุบัน

ค.ศ. 1851-1878

มีการคิดค้นกระบวนการเพลทเปียก (Wet Plate) กระบวนการ เพลทแห้ง (Dry Plate) และแพนโครแมติคเพลท (Panchromatic Plate) ต่อมาได้มีการปรับปรุงเพลทแห้งให้มีความไวแสงสูงขึ้น สามารถถ่ายภาพโดยใช้ความเร็ว ชัตเตอร์ 1/25 วินาทีได้ ซึ่งใช้เวลารับแสงเร็วกว่าเดิมถึง 50-60 เท่า

ค.ศ. 1888

George Eastman ชาวอเมริกัน ได้ผลิตกล้องบ๊อกซ์ โกดัก (Kodak Box Camera) ออกจำหน่ายโดยใช้ฟิล์มกระดาษฉาบน้ำยาม้วนยาวบรรจุในกล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายได้ 100 ภาพติดกัน เมื่อถ่ายแล้วต้องส่งไปล้างฟิล์มและอัดภาพที่บริษัท ทำให้มี ผู้นิยมใช้มาก ต่อมาได้พัฒนาฟิล์มเป็นวัตถุโปร่งใสแทนกระดาษซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการผลิตฟิล์มสมัยต่อมา

การถ่ายภาพในเมืองไทยยุคแรก

หนังสือ "สยามประเภท" ฉบับวันที่ 11 เม.ย. 2444 บันทึกไว้ว่า การถ่ายภาพเริ่มเข้ามาในเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระยาไทรบุรี ได้ส่ง รูปเจ้าวิลาต (สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย) ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย แต่พระองค์ไม่ทรงเชื่อว่าเป็นรูปถ่าย ทรงเห็นว่าเป็นเพียงรูปเขียนอย่างแต่ก่อนมาเท่านั้นปัจจุบันไม่มีผู้ใดพบเห็นภาพดังกล่าวนอกจากนี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ เจ้าของหนังสือเล่มเดียวกัน ยังกล่าวว่าประเทศไทยมีช่างถ่ายรูปคนแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) เป็นสังฆราชฝรั่งเศส ชื่อ ปาเลอกัว ส่วนคนไทยที่เป็นช่างถ่ายรูปคนแรกคือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือนายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล ซึ่งเป็นศิษย์ของ ปาเลอกัว นั่นเอง


ประโยชน์ของภาพถ่าย

ประโยชน์ของภาพถ่าย

1. การใช้ภาพถ่ายในการเผยแพร่ความรู้ เจตคติ อารมณ์ และ ประสบการณ์โดยตรงศิลปินใช้ภาพเป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ความคิด เจตคติได้ดีกว่าการบรรยายภาพด้วยคำพูดจึงมีศิลปินจำนวนมากใช้ภาพถ่ายเป็น สื่อในการถ่ายทอดศิลปะ

2.การใช้ภาพถ่ายเพื่อเผยแพร่ความรู้ อารมณ์และประสบการณ์ในการสื่อสารการถ่ายภาพมีบทบาทสำคัญมากในระบบการศึกษา ในการเรียนการสอนเช่น การใช้ภาพถ่ายประกอบในหนังสือเรียน ให้ผู้ศึกษาได้มีโอกาลเข้าใจในเนื้อหาสาระในบทเรียนดีขึ้น

3.การใช้ภาพถ่ายในกิจการแพทย์การถ่ายภาพด้วยการอาศัยการแพน่กระจายรังสีทำปฏิกิริยากับพื้นผิวของวัตถุได้ ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ในรูปการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์เรย์ ซึ่งเป็นการถ่ายภาพผ่านวัตถุบางชนิดรังสีเอ็กซ์เรย์สามารถผ่านได้และทำให้ เกิดภาพสีและเงาตรงข้าม

4.การใช้ภาพถ่ายในกิจการทหารและความปลอดภัยของบุคคลและของชาติการถ่ายภาพให้ประโยชน์ทางด้านนี้หลายประการ เช่น การถ่ายภาพทางอากาศ การถ่ายภาพจากดาวเทียม เพื่อหาข้อมูลในกิจการทหารและการรักษาความปลอดภัยของประเทศในด้านความ ปลอดภัยส่วนบุคคลในการเดินทางระหว่างประเทศ

5. .การใช้ภาพถ่ายในระบบสารสนเทศนับตั้งแต่ข้อมูลของโลกจนถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การถ่ายภาพของบุคคลตั้งแต่เกิดจนกระทั่งแก่ ภาพเหล่านั้นจะเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของบุคคลนั้นๆที่สามารถมาค้นหา ข้อมูลมาถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตปัจจุบันแม้แต่อนาคตได้

6.การใช้ภาพถ่ายในการประชาสัมพันธ์ปัจจุบันภาพถ่ายมีความสำคัญมากในการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะการใช้สื่อสิง พิมพ์และสื่อวิทยุโทรทัศน์ จะเห็นว่าสื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์ประเภทนิตยสารหนังสือพิมพ์และแผ่นปลิว ต่างๆนิยมที่จะใช้ภาพถ่ายประกอบ

7 . การใช้ภาพถ่ายในการโฆษณาสินค้าการถ่ายภาพมีบทบาทสำคัญ ต่อการโฆษณามากเพราะการที่สินค้าต่างๆจะเป็นที่รู้จักของลูกค้าอย่างกว้าง ขวางมีชื่อเสียงมีความหมาย ติดปากแก่ผู้คนนั้นล้วนมาจากการโฆษณาทั้งสิ้น

8.การใช้ภาพถ่ายในการประกอบหลักฐานและเอกสารที่สำคัญใช้ภาพถ่ายเป็นหลักฐานสำคัญ เช่น ถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน อีกทั้งยังใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนหรือเป็นที่ระลึกอีกด้วย

9.การใช้งานภาพถ่ายสร้างความเพลิดเพลินเป็นการสร้างความสุขทางใจสำหรับผู้ที่รักการถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจอันจะเป็นผลต่อเนื่องไปถึงการประกอบกิจกรรมต่างๆต่อไป

10.การใช้งานภาพถ่ายมาเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพทางอิสระได้อาชีพทางอิสระที่เกิดจากงานภาพถ่ายมีหลากหลายซึ่งอาจแยกเป็นทางถ่ายภาพแขนง ต่างๆ เช่น ภาพข่าว ภาพถ่ายบุคคล ภาพถ่ายโฆษณา ภาพแฟชั่น เป็นต้น

หลักการจัดองค์ประกอบภาพ

การจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้น

การถ่ายภาพนั้นไม่ใช่เพียงแค่การยกกล้องมากดถ่ายภาพเท่านั้นแต่มันยังมีเรื่องราวของศิลปะแฝงอยู่ภายในมากมายซึ่งแน่นอนอันดับแรกเราต้อง เรียนรู้ที่จะควบคุมกล้อง ควบคุมแสงสีต่างๆ ตลอดจนรวมไปถึงความไวชัตเตอร์และรูรับแสง แต่เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างภาพถ่ายที่สวยงามได้การควบคุมกล้องให้ได้อย่างใจนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้เป็น อันดับแรกและเมื่อเรามีความชำนาญที่มากพอแล้วนั้น ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งไม่ว่าเราจะใช้กล้องแบบใด ก็ตามจะเป็น Cybershot หรือว่า Alpha สิ่งนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ตลอด สิ่งที่เรากำลังพูดถึงนั้นก็คือ “การจัดองค์ประกอบภาพ”

กฎสามส่วน
กฎนี้เป็นกฎง่ายๆของการจัดองค์ประกอบภาพสำหรบการถ่ายภาพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในการถ่ายภาพทิวทัศน์นั้นเรามักชอบที่จะวางเส้นขอบฟ้าเอา ไว้ตรงกลางภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรามีวิธีที่จะวางเส้นขอบฟ้าไว้ที่อื่นเพื่อที่จะทำ ให้ภาพนั้นน่าสนใจมากขึ้นได้ ซึ่งโดยหลักการแล้วนั้นให้เราทำการแบ่งพื้นที่ในภาพออกเป็นสามส่วน บน กลาง และด้านล่าง จากนั้นให้วางเส้นขอบฟ้าค่อนไปทางด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ ให้ท้องฟ้ากินพื้นที่ 1 หรือ 2 ส่วนก็ได้แล้วแต่สถานะการณ์ ซึ่งเราจะได้ภาพลักษณะที่เป็นดินสองส่วนฟ้าหนึ่งส่วน หรือฟ้าสองส่วนดินหนึ่งส่วนก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่น่าสนใจกว่าการแบ่งภาพแบบครึ่งๆ


จุดตัด 9 ช่อง

สำหรับภาพที่มีจุดสนใจในภาพนั้น โดยปกติแล้วเรามักจะวางจุดสนใจกันเอาไว้กลางภาพ ซึ่งในหลายๆครั้งจุดสนใจนั้นจะถูกลดความน่าสนใจลงไปเนื่องจากโดยส่วนอื่นๆ บริเวณรอบข้างดึงความสนใจไป เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้กฎที่เรียกว่า “จุดตัด 9 ช่อง” โดยให้ทำการแบ่งภาพทั้งหมดเป็น 9 ช่อง แล้วเลือกวางจุดสนใจในบริเวณที่เป็นจุดที่เส้นแบ่งนั้นตัดกันซึงจะมีทั้งหมด 4 จุดด้วยกัน การวางจุดสนใจในภาพไว้ในลักษณะนี้นั้นจะทำให้จุดสนใจในภาพนั้นน่าสนใจมาก ยิ่งขึ้นและเด่นชัดมากยิ่งขึ้นดังภาพด้านล่าง



เส้นนำสายตา

ในบางครั้งการวางจุดสนใจในภาพอาจไม่ได้วางตามจุดตัด 9 ช่องก็ได้ แต่เราจะมีวิธีอื่นที่สร้างให้จุดนั้นๆกลายเป็นจุดสนใจในภาพได้โดยการ ใช้เส้นนำสายตาซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมนุษย์เราเห็นเส้นอะไรสักอย่างมักจะมอง ตามไปเสมอ และการมองตามเส้นนั้นๆไปจะดึงให้สายตาของผู้มองนั้นมองตามไปจนเจอกับจุดสนใจ ในภาพที่เราวางไว้ เส้นนำสายตานั้นจะเป็นอะไรก็ได้ในภาพที่มีลักษณะเป็นเส้น เช่น ถนน ขอบรั้ว หรืออะไรก็ได้ไม่จำกัดขอให้มีลักษณะเป็นเส้น และให้เส้นเหล่านั้นชี้ไปยังจุดสนใจที่เราได้ทำการวางเอาไว้ จะทำให้จุดสนใจในภาพที่เราวางเอาไว้เด่นขึ้นมาในทันที


การเหลือพื้นที่

ในหลายๆครั้งนั้นเราจะพบปัญหาเกี่ยวกับพื้นทีส่วนอื่นๆในภาพว่าเราควรจะ เหลือส่วนไหนอย่างไรดี หลักการนี้ก็เป็นหลักการง่ายๆโดยให้เราทำการเหลือพื้นที่ด้านเดียวกับจุด สนใจในภาพเพื่อให้คนดูภาพไม่รู้สึกอึดอัด เช่นถ้าหากหน้าคน รถ หรือว่าอะไรก็ตามหันไปทางไหนให้เราเหลือพื้นที่บริเวณนั้นเอาไว้ เพื่อให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดและยังเหลือที่ว่างให้คิดหรือจินตนาการต่อ ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป หลักการนี้เป็นหลักการง่ายๆที่ทำให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัด แต่ถ้าหากภาพนั้นต้องการสื่อถึงอารมณ์ให้รู้สึกอึดอัดก็ไม่จำเป็นต้องเหลือ พื้นที่ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการบอกอะไรคนดู


ใส่กรอบให้กับภาพ

หลักการนี้เป็นหลักการสร้างจุดสนใจให้กับภาพอีกอย่างหนึ่ง โดยให้เราหารอบประตูหน้าต่าง หรืออะไรก็ได้ที่มีลักษณะเป็นกรอบอาจจะสองด้านหรือว่าสี่ด้านก็ได้ แล้วจากนั้นก็นำจุดสนใจในภาพไปใส่ไว้ในกรอบนั้นๆ ผู้ชมภาพจะถูกบีบด้วยกรอบที่ซ้อนอยู่ในภาพให้มองไปยังจุดสนใจที่เราวางเอา ไว้ ซึ่งจะเป็นการทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นอีกทางหนึ่งได้

หลักการถ่ายภาพบุคคล

โฟกัสที่ตา
หลักการสำคัญข้อแรกของการถายภาพบุคคลคือการโฟกัสที่ดวงตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพเนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและ แสดงถึงอารมณ์ของภาพ ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตาและทำให้ตาไม่ชัดนั้นตัวแบบที่เราถ่ายจะดู เหมือนคนสุขภาพไม่ดีดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที เหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่ กว้างซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกที่น้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่หลายครั้งเอาอาจพบกรณีที่ จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัดหรือบางครั้งเป็นแก้มหรือว่าใ บหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็ มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่หรือว่าใบหูไม่ชัดก็จะยัง สามารถเป็นภาพที่ดีได้ ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจการโฟกัสดวงตาให้ชัดจึงสำคัญเป็นประการแรก


อย่าตัดบริเวณข้อต่อ
หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบ ภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี ความรู้สึกของคนดูภาพจะรู้สึกเหมือนว่าตัวแบบของเรานั้นแขนหรือขาขาดได้ การตัดกรอบ ภาพบริเวณแขนขาหรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องไม่ตัดบริเวณ ข้อ ต่อเท่านั้นเอง เนื่องจากข้อต่อต่างๆเป็นจุดเชื่อมต่อของ ร่างกายอยู่แล้ว การตัดบริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นการเน้นย้ำความรู้สึกคนดูภาพว่าอวัยวะส่วนนั้น อาจขาดหายไปได้มากจนเกินไป การระวังไม่ตัดบริเวณข้อต่อจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า

สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน
เพราะว่าการถ่ายภาพ Portrait นั้นช่างภาพไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพแนวอื่นเช่นการถ่ายภาพ ทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายแล ะ ตัวแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าอย่างได้อารมณ์และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อส ารจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกเลย คืออย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจให้ได้ ว่าท่านต้องการอารมณ์และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงกั นแล้วเชื่อแน่นอนได้ว่า คุณจะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการได้ไม่ยากนัก

ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น
ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่นภาพแนววิถีชีวิต แนวสารคดีหรือว่าแนวอื่นๆก็ตาม บางครั้งเราต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคนๆนั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คนๆนั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออก มา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิตหรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรงๆนั้นค่อ นข้างจะเสียมารยาทและทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้บ่อยการที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้นคนถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ่ายได้พอๆกันเราควรที่จะเข้าไปพบป ะพูดคุยกันเสียก่อนแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่ายภาพเขาถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวยๆนั้นมีความเป็นไปได้สูงบางครั้งเราอาจต้องพูดคุยไปถ่ายไปและคอยจับกริยาท่าทางของเขาและก็ค่อยๆถ่ายไปแ น่นอนในหลายๆครั้งเราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเองเพราะการจะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้นบางครั้งจะทำให้เขาเกร็งได้ อย่างภาพตัวอย่างนี้ผมถ่ายภาพ “แป๊ะหลี” ซึ่งเป็นพ่อค้าขายกาแฟคนดังแห่งตลาดคลองสวน ก็ต้องอาศัยเข้าไปนั่งพูดคุยกันอยู่สักพักถึงจะไ ด้รูปดีๆมา

Window light
การควบคุมทิศทางแสงนั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคลให้มีความแตกต่างในสถานะการณ์ต่างๆนั้นก็จะมีสภาพแสงที่แตกต่างกันไปซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้นๆอย่างไรหนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียวซึ่งจะเรียกว่าWindow lightเทคนิคนี้ใช้งานไม่ยากและสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี เราสามารถใช้ เทคนิคนี้ได้โดยการหาสถานที่ที่มีแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่างประตูหรือว่าช่องกำแพงก็ได้ขอให้เป็นสถานที่ๆสามารรถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้แล้วจัดให้แสงเข้ามาด้านข้างของตัวแบบเท่านี้เราก็จะได้ภาพแสงที่แตกต่างจากปกติอยู่พอสมควรแล้วซึ่งเทคนิคนี้ไม่ ยากจนเกินไปนัก อยู่ที่เราจะสามารถหาสภาพแสงในสถานที่นั้นๆได้หรือไม่ จากภาพตัวอย่างข้างล่างเป็นภาพที่ให้ตัวแบบยืนข้างๆช่องแสง เพื่อให้มีแสงเข้ามาทางด้านขวาของภาพเพียงด้านเดียว ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะแป ลกตาและน่าค้นหามากขึ้น

ถ่ายภาพย้อนแสง
หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและ ได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้ นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่

1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)



การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์

หลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญเรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของเราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลังซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ใน Tips&Trick ฉบับที่แล้วเราพูดถึงการวางจุดสนใจในภาพซึ่งเราสามารถนำหลักการนั้นมาใช้งานร่วมกับการถ่ายภาพบุคคลได้เช่นกัน โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง (ดูรายละเอียดจุดตัด 9 ช่องได้ใน Tips ฉบับก่อน) จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่ ปัญหาใดๆ อีกวิธีการหนึ่งก็คือถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายร่วมกับตึกหรือสิ่งที่มีลักษณะ เป็นทรงตั้ง ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับเป็นการถ่ายภาพคู่ก็ได้โดยให้จินตนาการว่า สถานที่นั้นๆเป็นคนอีกคนหนึ่ง ดังรูปที่สองด้านล่างที่เป็นคนถ่ายคู่กับโดมของธรรมศาสตร์


หลักการถ่ายภาพทิวทัศน์

การถ่ายภาพทิวทัศน์ (Land and Sea Scape)
นักถ่ายภาพสมัครเล่นนิยมถ่ายภาพประเภทนี้มาก เพราะสามารถถ่ายได้ง่าย สะดวก ถ่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่มีโอกาสผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์ป่าเขาลำเนาไพร น้ำตก หรือท้องทะเลก็ตาม อย่างน้อยผู้ถ่ายภาพก็สามารถเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกถึงความหลักการถ่ายภาพ ทิวทัศน์ ควรถ่ายขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใส จะได้ภาพสวยงาม ชัดเจน ถ้าอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก ภาพที่ได้จะมีสีทึบ ขาดรายละเอียด การบันทึกความสวยงามของลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติดังกล่าว จะมีคุณค่าและความ สวยงามนั้น ควรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่ช่วยสร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้นพยายามเลือก มุมกล้องที่แปลกตา คอยจังหวะให้มีลักษณะแสงสีที่สวยงาม สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ดูเกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น ภาพที่มีหมอกในฤดูหนาว ควัน ฝนตก หรือพายุ ฯลฯ บรรยากาศ แสงสีในเวลาเช้ามืดก่อนจะสว่าง หรือในตอนเย็น พระอาทิตย์กำลังจะตกจะมีแสงสีที่ให้ความรุนแรงมีสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง แสดและแดงสลับกับก้อนเมฆรูปร่างต่าง ๆ ดูสวยงาม การถ่ายภาพทิวทัศน์นิยมเปิด ช่องรับแสงให้แคบเพื่อช่วยให้ภาพมีความคมและชัดลึกตลอด แม้บางครั้งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สำหรับเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ นอกจากเลนส์ ธรรมดาติดกล้องแล้ว ควรมีเลนส์มุมกว้างและเลนส์ถ่ายภาพไกลที่มีขนาดความยาวโฟกัสประมาณ 105 มม. หรือ 250 มม. เพื่อช่วยให้ได้ภาพที่มีมุมแปลกตา ดีขึ้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพขาว – ดำ ควรมีแผ่นกรองแสงสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดงติดไปด้วย เพราะฟิลเตอร์สีดังกล่าวจะช่วยให้ภาพขาว – ดำ มองเห็นก้อนเมฆขาว ตัดกับท้องฟ้า ส่วนการถ่ายภาพสีก็ควรมีแผ่นกรองแสงตัดหมอกหรือแผ่นกรองแสงโพลาไรซ์เป็น อย่างน้อย นอกจากนั้นอาจใช้แผ่นกรองแสงสำหรับเปลี่ยนแปลง สีของภาพเพื่อให้ได้ภาพทิวทัศน์ที่มีสีสันสวยงามแปลกตายิ่งขึ้น